ชีวะ
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
การสังเคราะห์แสง (photosynthesis)
สิ่งมีชีวิตดำรงชีพได้ด้วยการรับพลังงาน สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่างๆ จาก
สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ในร่างกายและจะขับของเสียรวมทั้งพลังงานที่ใช้ไม่ได้้กลับคืน
สู่สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้เราเรียกว่า
ออโตโทรฟ (autotroph) ซึ่งแบ่งออกเป็นสองพวก ได้แก่ พวกที่ใช้พลังงานแสงโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งแสงจากดวงอาทิตย์ และพวกที่ใช้สารอนินทรีย์พวกซัลเฟอร์และแอมโมเนีย
ในการสร้างอาหารดังนั้นเราจึงเรียกสิ่งมีชีวิตที่ใช้พลังงานแสงเพื่อการดำรงชีพว่า
โฟโตโทรฟ (phototroph) สิ่งมีชีวิตพวกนี้ได้แก่ พืช สาหร่าย โปรติสท์บางชนิด
เช่น ยูกลีนา รวมทั้งสิ่งมีชีวิตพวกโปรคารีโอตบางพวก เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ใช้สารอนินทรีย์ในการสร้างอาหารโดยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานแสง
เลยเราเรียกว่า คีโมโทรฟ (chemotroph) ซึ่งได้แก่แบคทีเรียบางชนิด

การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นที่คลอโรพลาสต์
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นบริเวณที่มี คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ซึ่ง
ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในบริเวณที่มีสีเขียวของพืช เช่น ส่วนของลำต้น ผลที่ยังไม่สุก และ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนใบ คลอโรฟิลล์เป็นสารสีเขียวทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงอาทิตย์
และพบอยู่ใน คลอโรพลาสต์ (chloroplast) คลอโรพลาสต์ในส่วนใบของพืชพบอยู่
ในเนื้อเยื่อที่ชื่อ เมโซฟิลล์ (mesophyll) ใบพืชยังมีส่วนที่เป็นช่องว่างเล็กๆ ที่เรียก
ปากใบ (stomata) คาร์บอนไดออกไซด์สามารถผ่านเข้ามาในใบและออกซิเจน
จะถูกปล่อยออกมาผ่านทางปากใบนี้ ส่วนน้ำที่รากดูดขึ้นมายังส่วนบนของลำต้นจะถูกส่ง
ไปยังส่วนต่างๆ ของใบทางเส้นใบ เส้นใบยังใช้ในการขนส่งน้ำตาลไปยังรากและส่วนอื่นๆ
ของพืชที่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้เองอีกด้วย
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นบริเวณที่มี คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ซึ่ง
ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในบริเวณที่มีสีเขียวของพืช เช่น ส่วนของลำต้น ผลที่ยังไม่สุก และ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนใบ คลอโรฟิลล์เป็นสารสีเขียวทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงอาทิตย์
และพบอยู่ใน คลอโรพลาสต์ (chloroplast) คลอโรพลาสต์ในส่วนใบของพืชพบอยู่
ในเนื้อเยื่อที่ชื่อ เมโซฟิลล์ (mesophyll) ใบพืชยังมีส่วนที่เป็นช่องว่างเล็กๆ ที่เรียก
ปากใบ (stomata) คาร์บอนไดออกไซด์สามารถผ่านเข้ามาในใบและออกซิเจน
จะถูกปล่อยออกมาผ่านทางปากใบนี้ ส่วนน้ำที่รากดูดขึ้นมายังส่วนบนของลำต้นจะถูกส่ง
ไปยังส่วนต่างๆ ของใบทางเส้นใบ เส้นใบยังใช้ในการขนส่งน้ำตาลไปยังรากและส่วนอื่นๆ
ของพืชที่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้เองอีกด้วย


เซลล์เมโซฟิลล์แต่ละเซลล์ในใบพืชโดยทั่วไป ประกอบด้วยคลอโรพลาสต์ประมาณ
30-40 อัน คลอโรพลาสต์มีรูปร่างคล้ายผลแตงไทย ส่วนกว้างที่สุดมีขนาดประมาณ 2-4
ไมโครเมตร ส่วนยาวที่สุดมีขนาดประมาณ 4-7 ไมโครเมตร คลอโรพลาสต์ประกอบด้วย
เยื่อหุ้ม 2 ชั้น หุ้มของเหลวข้นๆ ที่เรียก สโตรมา (stroma) เอาไว้ เยื่อหุ้มชั้นในของ
คลอโรพลาสต์บางตอนม้วนตัวจนเกิดเป็นถุงที่เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylacoid) ซึ่งมีโพรง
(thylakoid space) อยู่ภายใน บางบริเวณเยื่อหุ้มชั้นในพับซ้อนไปมามีลักษณะเป็นถุง
ไทลาคอยด์เรียงซ้อนกันเป็นตั้งๆ เรียก กรานา (grana) เยื่อที่หุ้มไทลาคอยด์เอาไว้นี้คือ
บริเวณที่มีสารคลอโรฟิลล์ ซึ่งทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์
ด้วยแสงอยู่
30-40 อัน คลอโรพลาสต์มีรูปร่างคล้ายผลแตงไทย ส่วนกว้างที่สุดมีขนาดประมาณ 2-4
ไมโครเมตร ส่วนยาวที่สุดมีขนาดประมาณ 4-7 ไมโครเมตร คลอโรพลาสต์ประกอบด้วย
เยื่อหุ้ม 2 ชั้น หุ้มของเหลวข้นๆ ที่เรียก สโตรมา (stroma) เอาไว้ เยื่อหุ้มชั้นในของ
คลอโรพลาสต์บางตอนม้วนตัวจนเกิดเป็นถุงที่เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylacoid) ซึ่งมีโพรง
(thylakoid space) อยู่ภายใน บางบริเวณเยื่อหุ้มชั้นในพับซ้อนไปมามีลักษณะเป็นถุง
ไทลาคอยด์เรียงซ้อนกันเป็นตั้งๆ เรียก กรานา (grana) เยื่อที่หุ้มไทลาคอยด์เอาไว้นี้คือ
บริเวณที่มีสารคลอโรฟิลล์ ซึ่งทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์
ด้วยแสงอยู่
12H20 + 6CO2
C6H12O6 + 6O2 + 6H2O

6H20 + 6CO2
C6H12O6 + 6O2

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงประกอบด้วยสองขั้นตอนใหญ่การสังเคราะห์ด้วยแสงประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 2 ขั้นตอนต่อเนื่องกัน คือขั้นตอน
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี (the photo part of-
photosynthesis) และขั้นตอนปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงซึ่งเป็นขั้นตอนของการสังเคราะห์
น้ำตาล (the synthesis part) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า วัฏจักรเคลวิน (Calvin cycle)
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี (the photo part of-
photosynthesis) และขั้นตอนปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงซึ่งเป็นขั้นตอนของการสังเคราะห์
น้ำตาล (the synthesis part) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า วัฏจักรเคลวิน (Calvin cycle)

ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงเกิดขึ้นบนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ เป็นขั้นตอนที่คลอโรฟิลล์ดูดแสง
เอาไว้ พลังงานแสงไปกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนและไฮโดรเจนจากน้ำ
ไปยังตัวรับอิเล็กตรอนที่ชื่อ นิโคตินาไมด์ อะดีนีน ไดนิวคลีโอไทด์ ฟอสเฟต (nicotinamide
adenine dinucleotide phosphate) หรือเรียกย่อๆ ว่า NADP+ ทำให้ NADP+
ถูกรีดิวซ์กลายเป็น NADPH และมีโมเลกุลของออกซิเจนเกิดขึ้นจากการแตกตัวของน้ำ
นอกจากนี้ในปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงยังมีการสังเคราะห์ ATP โดยกระบวนการ
โฟโตฟอสโฟรีเลชัน (photophosphorylation) เกิดขึ้นอีกด้วย
เอาไว้ พลังงานแสงไปกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนและไฮโดรเจนจากน้ำ
ไปยังตัวรับอิเล็กตรอนที่ชื่อ นิโคตินาไมด์ อะดีนีน ไดนิวคลีโอไทด์ ฟอสเฟต (nicotinamide
adenine dinucleotide phosphate) หรือเรียกย่อๆ ว่า NADP+ ทำให้ NADP+
ถูกรีดิวซ์กลายเป็น NADPH และมีโมเลกุลของออกซิเจนเกิดขึ้นจากการแตกตัวของน้ำ
นอกจากนี้ในปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงยังมีการสังเคราะห์ ATP โดยกระบวนการ
โฟโตฟอสโฟรีเลชัน (photophosphorylation) เกิดขึ้นอีกด้วย
สำหรับปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง หรือ วัฏจักรเคลวิน ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี
ค.ศ. 1950 โดย เมลวิน เคลวิน (Melvin Calvin) และคณะ วัฏจักรนี้เริ่มต้นด้วยการที่
คาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเข้ารวมตัวกับสารอินทรีย์ในสโตรมา ซึ่งเรียกว่า
การตรึงคาร์บอน (carbon fixation) เพื่อให้ได้สารตั้งต้นสำหรับนำไปใช้ใน
กระบวนการสังเคราะห์น้ำตาล ขั้นตอนการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นคาร์โบไฮเดรตนี้
ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องใช้แสงโดยตรงแต่ก็ต้องอาศัย NADPH และ ATP ที่ได้จากปฏิกิริยาที่
ต้องใช้แสง
ค.ศ. 1950 โดย เมลวิน เคลวิน (Melvin Calvin) และคณะ วัฏจักรนี้เริ่มต้นด้วยการที่
คาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเข้ารวมตัวกับสารอินทรีย์ในสโตรมา ซึ่งเรียกว่า
การตรึงคาร์บอน (carbon fixation) เพื่อให้ได้สารตั้งต้นสำหรับนำไปใช้ใน
กระบวนการสังเคราะห์น้ำตาล ขั้นตอนการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นคาร์โบไฮเดรตนี้
ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องใช้แสงโดยตรงแต่ก็ต้องอาศัย NADPH และ ATP ที่ได้จากปฏิกิริยาที่
ต้องใช้แสง

การเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีในรูปของ NADPH และ ATP
อาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง
อาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง
แสงที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอยู่ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 380 ถึง
750 นาโนเมตรซึ่งเราสามารถมองเห็นเป็นแสงสีต่างๆ ได้ด้วยตาเปล่า แต่ละความยาวคลื่น
ของแสงมีพลังงานจำเพาะ คือมีค่าของควันตัมที่จำเพาะต่อหน่วยแสง (photon) นั้นๆ
แสงที่มีความยาวของคลื่นแสงสั้น เช่น แสงสีม่วง แต่ละหน่วยแสง จะมีพลังงานอยู่มากกว่า
แสงที่มีความยาวของคลื่นแสงยาว เช่น แสงสีแดง เป็นต้น
750 นาโนเมตรซึ่งเราสามารถมองเห็นเป็นแสงสีต่างๆ ได้ด้วยตาเปล่า แต่ละความยาวคลื่น
ของแสงมีพลังงานจำเพาะ คือมีค่าของควันตัมที่จำเพาะต่อหน่วยแสง (photon) นั้นๆ
แสงที่มีความยาวของคลื่นแสงสั้น เช่น แสงสีม่วง แต่ละหน่วยแสง จะมีพลังงานอยู่มากกว่า
แสงที่มีความยาวของคลื่นแสงยาว เช่น แสงสีแดง เป็นต้น

เมื่อแสงช่วงที่ตามองเห็น กระทบกับโมเลกุลของสารสี อิเล็กตรอนของโมเลกุล
จะถูกกระตุ้นให้กระโดดข้ามระดับพลังงานควอนตัม (excite) ก็ต่อเมื่อค่าควันตัมของแสง
มีความพอดีกับช่วงพลังงานที่อิเล็กตรอนต้องใช้ในการกระโดดไปยังสถานะที่สูงขึ้น
ดังนั้นการดูดแสงของสารจึงเกิดขึ้นพร้อมกับการกระตุ้นของอิเล็กตรอนของสารตัวนั้น
ซึ่งทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้นหรือไวต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยเฉพาะปฏิกิริยารีดักชัน
จะถูกกระตุ้นให้กระโดดข้ามระดับพลังงานควอนตัม (excite) ก็ต่อเมื่อค่าควันตัมของแสง
มีความพอดีกับช่วงพลังงานที่อิเล็กตรอนต้องใช้ในการกระโดดไปยังสถานะที่สูงขึ้น
ดังนั้นการดูดแสงของสารจึงเกิดขึ้นพร้อมกับการกระตุ้นของอิเล็กตรอนของสารตัวนั้น
ซึ่งทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงขึ้นหรือไวต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยเฉพาะปฏิกิริยารีดักชัน
สเปคตรัมของสารและคลอโรฟิลล์
สเปคตรัมของสารคือการแสดงความสามารถในการดูดแสงของสารที่ความยาวคลื่น
ต่างๆ สารที่เรามองเห็นว่ามีสีนั้นสามารถดูดแสงที่ตามองเห็นได้อย่างน้อยในบางช่วงคลื่น
หรือสามารถดูดแสงได้ทุกช่วงคลื่น โดยที่ความสามารถในการดูดแสงบางช่วงคลื่นดีกว่า
ช่วงคลื่นอื่นๆ หากสารมีสีดำนั่นแปลว่าสารนั้นสามารถดูดแสงได้หมดทุกช่วงคลื่นและดูด
เอาไว้ได้ทั้งหมดด้วยสารที่ดูดแสงได้บางช่วงคลื่นจะปรากฏเป็นสีต่างๆ ถ้าสารใดไม่
สามารถดูดแสงได้เลยสารนั้นจะมีสีขาว
สเปคตรัมของสารคือการแสดงความสามารถในการดูดแสงของสารที่ความยาวคลื่น
ต่างๆ สารที่เรามองเห็นว่ามีสีนั้นสามารถดูดแสงที่ตามองเห็นได้อย่างน้อยในบางช่วงคลื่น
หรือสามารถดูดแสงได้ทุกช่วงคลื่น โดยที่ความสามารถในการดูดแสงบางช่วงคลื่นดีกว่า
ช่วงคลื่นอื่นๆ หากสารมีสีดำนั่นแปลว่าสารนั้นสามารถดูดแสงได้หมดทุกช่วงคลื่นและดูด
เอาไว้ได้ทั้งหมดด้วยสารที่ดูดแสงได้บางช่วงคลื่นจะปรากฏเป็นสีต่างๆ ถ้าสารใดไม่
สามารถดูดแสงได้เลยสารนั้นจะมีสีขาว
การที่เรามองเห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียวอมเหลืองเนื่องจากว่าคลอโรฟิลล์ดูดแสงสีเขียว-
เหลืองได้ไม่ดี แต่จะดูดแสงในช่วงแสงสีน้ำเงิน ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 420-460
นาโนเมตร และช่วงแสงสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่น 630-660 นาโนเมตร ไว้ได้ดีมาก
ส่วนแสงสีเขียว-เหลืองจะสะท้อนหรือทะลุผ่านใบไม้ไป
เหลืองได้ไม่ดี แต่จะดูดแสงในช่วงแสงสีน้ำเงิน ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 420-460
นาโนเมตร และช่วงแสงสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่น 630-660 นาโนเมตร ไว้ได้ดีมาก
ส่วนแสงสีเขียว-เหลืองจะสะท้อนหรือทะลุผ่านใบไม้ไป
กลุ่มของสารสีที่ประกอบขึ้นเป็นระบบแสง
บนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์มีกลุ่มของสารสีที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากแสง ที่เรียกว่า
สารสีเก็บเกี่ยวแสง (antenna complex) อยู่เป็นจำนวนมาก สารสีเก็บเกี่ยวแสงในพืชชั้นสูง
จะเป็นชนิดคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ
กลุ่มของสารสีมี 2 ชนิด แต่ละชนิดมีความสามารถในการดูดกลืนพลังงานแสงที่ความยาว
คลื่นต่างกัน กลุ่มของสารสีที่สามารถรับพลังงานแสงในช่วงความยาวคลื่นสูงสุดที่
ประมาณ 700 นาโนเมตร เรียกว่า ระบบแสง I (photosystem I) หรือ P700
ส่วนกลุ่มสารสีที่ดูดกลืนพลังงานแสงสูงสุดในช่วงความยาวคลื่นที่ประมาณ 680 นาโนเมตร
เรียกว่า ระบบแสง II (photosystem II) หรือ P680 พลังงานแสงที่มีค่าควันตัมสูงจะต้อง
ถูกทอนลงมาจากการถ่ายพลังงานแสงในระบบเก็บเกี่ยวแสง พลังงานในส่วนที่สูญเสีย
ไปนั้นถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนบางส่วนและเป็นพลังงานแสงที่ถูกเรืองออกมา
เป็นบางส่วน
บนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์มีกลุ่มของสารสีที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากแสง ที่เรียกว่า
สารสีเก็บเกี่ยวแสง (antenna complex) อยู่เป็นจำนวนมาก สารสีเก็บเกี่ยวแสงในพืชชั้นสูง
จะเป็นชนิดคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ
กลุ่มของสารสีมี 2 ชนิด แต่ละชนิดมีความสามารถในการดูดกลืนพลังงานแสงที่ความยาว
คลื่นต่างกัน กลุ่มของสารสีที่สามารถรับพลังงานแสงในช่วงความยาวคลื่นสูงสุดที่
ประมาณ 700 นาโนเมตร เรียกว่า ระบบแสง I (photosystem I) หรือ P700
ส่วนกลุ่มสารสีที่ดูดกลืนพลังงานแสงสูงสุดในช่วงความยาวคลื่นที่ประมาณ 680 นาโนเมตร
เรียกว่า ระบบแสง II (photosystem II) หรือ P680 พลังงานแสงที่มีค่าควันตัมสูงจะต้อง
ถูกทอนลงมาจากการถ่ายพลังงานแสงในระบบเก็บเกี่ยวแสง พลังงานในส่วนที่สูญเสีย
ไปนั้นถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนบางส่วนและเป็นพลังงานแสงที่ถูกเรืองออกมา
เป็นบางส่วน

ศูนย์เกิดปฏิกิริยา
เมื่อสารสีเก็บเกี่ยวแสงดูดกลืนโฟตอน พลังงานจะถูกส่งทอดไปตามโมเลกุลของสารสี
เหล่านั้นจนกระทั่งถึงคลอโรฟิลล์ เอ ที่อยู่ในตำแหน่ง ศูนย์เกิดปฏิกิริยา
(reaction center) ซึ่งนับเป็นจุดแรกของการเกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง
พลังงานที่ได้รับที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสงทั้งสองระบบจะทำให้อิเล็กตรอนของ
คลอโรฟิลล์มีพลังงานมากขึ้น จนหลุดออกจากโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ อิเล็กตรอนที่หลุดออก
มานี้จะมีศักยภาพในการรีดิวซ์สูง มันจะเคลื่อนไปยังโมเลกุลที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าตามระบบ
การขนส่งอิเล็กตรอน
เมื่อสารสีเก็บเกี่ยวแสงดูดกลืนโฟตอน พลังงานจะถูกส่งทอดไปตามโมเลกุลของสารสี
เหล่านั้นจนกระทั่งถึงคลอโรฟิลล์ เอ ที่อยู่ในตำแหน่ง ศูนย์เกิดปฏิกิริยา
(reaction center) ซึ่งนับเป็นจุดแรกของการเกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง
พลังงานที่ได้รับที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสงทั้งสองระบบจะทำให้อิเล็กตรอนของ
คลอโรฟิลล์มีพลังงานมากขึ้น จนหลุดออกจากโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ อิเล็กตรอนที่หลุดออก
มานี้จะมีศักยภาพในการรีดิวซ์สูง มันจะเคลื่อนไปยังโมเลกุลที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าตามระบบ
การขนส่งอิเล็กตรอน

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง: ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง
การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นการใช้พลังงานแสงในการสังเคราะห์สารโดยพลังงานแสง
ที่พืชได้รับจะถูกสะสมอยู่ในรูปของ NADPH และ ATP ขั้นตอนที่ทำให้เกิดสารสองตัวนี้เรียกว่า
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง ซึ่งพืชจะนำสารทั้งสองนี้ไปถ่ายทอดพลังงานเพื่อช่วยตรึงคาร์บอน
ไดออกไซด์ในปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง เกิดเป็นน้ำตาลและสารประกอบอื่นๆ
ปฏิกิริยาแรกในกระบวนการที่ต้องใช้แสงคือการที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง II
ได้รับพลังงานจากแสงซึ่งถ่ายทอดมาจากคลอโรฟิลล์ที่อยู่รอบข้าง ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออก
จากโมเลกุลของคลอโรฟิลล์เอ ที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยา อิเล็กตรอนนี้จะเคลื่อนไปตามระบบ
การขนส่งอิเล็กตรอน
การที่อิเล็กตรอนของระบบแสง II ถูกกระตุ้นด้วยแสงจนหลุดออกไปได้จะทำให้
เอนไซม์ออกซิไดส์น้ำทำให้น้ำแตกตัว ได้ออกซิเจนอะตอม ไฮโดรเจน และอิเล็กตรอน
ออกซิเจนอะตอมจะรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลของออกซิเจน ส่วนอิเล็กตรอนที่ได้จาก
การแตกตัวของน้ำจะเคลื่อนไปทดแทนอิเล็กตรอนที่หลุดออกไปจากคลอโรฟิลล์ที่ศูนย์
เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง II
การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นการใช้พลังงานแสงในการสังเคราะห์สารโดยพลังงานแสง
ที่พืชได้รับจะถูกสะสมอยู่ในรูปของ NADPH และ ATP ขั้นตอนที่ทำให้เกิดสารสองตัวนี้เรียกว่า
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง ซึ่งพืชจะนำสารทั้งสองนี้ไปถ่ายทอดพลังงานเพื่อช่วยตรึงคาร์บอน
ไดออกไซด์ในปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง เกิดเป็นน้ำตาลและสารประกอบอื่นๆ
ปฏิกิริยาแรกในกระบวนการที่ต้องใช้แสงคือการที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง II
ได้รับพลังงานจากแสงซึ่งถ่ายทอดมาจากคลอโรฟิลล์ที่อยู่รอบข้าง ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออก
จากโมเลกุลของคลอโรฟิลล์เอ ที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยา อิเล็กตรอนนี้จะเคลื่อนไปตามระบบ
การขนส่งอิเล็กตรอน
การที่อิเล็กตรอนของระบบแสง II ถูกกระตุ้นด้วยแสงจนหลุดออกไปได้จะทำให้
เอนไซม์ออกซิไดส์น้ำทำให้น้ำแตกตัว ได้ออกซิเจนอะตอม ไฮโดรเจน และอิเล็กตรอน
ออกซิเจนอะตอมจะรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลของออกซิเจน ส่วนอิเล็กตรอนที่ได้จาก
การแตกตัวของน้ำจะเคลื่อนไปทดแทนอิเล็กตรอนที่หลุดออกไปจากคลอโรฟิลล์ที่ศูนย์
เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง II

ในขั้นตอนต่อไปอิเล็กตรอนที่ถูกส่งจากระบบแสง II จะเคลื่อนที่ไปยังระบบแสง I
ผ่านลูกโซ่ขนส่งอิเล็กตรอน ที่มีระบบตัวนำอิเล็กตรอน ชื่อ พลาสโตควิโนน
ระบบไซโตโครมและโปรตีนที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ ชื่อ พลาสโตไซยานิน
การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากระบบแสง II ไปตามระบบการขนส่งอิเล็กตรอน
ทำให้เกิดพลังงานอิสระสำหรับนำไปใช้ในการสร้าง ATP
เมื่อระบบแสง I ได้รับพลังงานจากแสง ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกและส่งผ่านไป
ยังตัวรับอิเล็กตรอน จนกระทั่งถึงตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายคือ เฟอรีดอกซิน
(ferredoxin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ จากนั้นเอนไซม์ NADP+
reductase ส่งอิเล็กตรอนจากเฟอรีดอกซินไปให้ NADP+ เกิดเป็น NADPH
สำหรับอิเล็กตรอนที่หลุดออกไปจากคลอโรฟิลล์ที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง I
นั้น อิเล็กตรอนที่ถูกส่งจากระบบแสง II ผ่านระบบการขนส่งอิเล็กตรอนจะเคลื่อนไปทดแทน
ผ่านลูกโซ่ขนส่งอิเล็กตรอน ที่มีระบบตัวนำอิเล็กตรอน ชื่อ พลาสโตควิโนน
ระบบไซโตโครมและโปรตีนที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ ชื่อ พลาสโตไซยานิน
การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากระบบแสง II ไปตามระบบการขนส่งอิเล็กตรอน
ทำให้เกิดพลังงานอิสระสำหรับนำไปใช้ในการสร้าง ATP
เมื่อระบบแสง I ได้รับพลังงานจากแสง ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกและส่งผ่านไป
ยังตัวรับอิเล็กตรอน จนกระทั่งถึงตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายคือ เฟอรีดอกซิน
(ferredoxin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ จากนั้นเอนไซม์ NADP+
reductase ส่งอิเล็กตรอนจากเฟอรีดอกซินไปให้ NADP+ เกิดเป็น NADPH
สำหรับอิเล็กตรอนที่หลุดออกไปจากคลอโรฟิลล์ที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง I
นั้น อิเล็กตรอนที่ถูกส่งจากระบบแสง II ผ่านระบบการขนส่งอิเล็กตรอนจะเคลื่อนไปทดแทน
การนำพลังงานจากการไหลของอิเล็กตรอนบนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์มาใช้ในการสร้าง ATP
พลังงานที่มากับแสงอาทิตย์ นอกจากใช้ในการทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัว
เป็นออกซิเจน และโปรตอนแล้ว ยังทำให้อิเล็กตรอนของระบบแสง I และ II มีศักยภาพ
ในการรีดิวซ์สูงขึ้นอีกด้วย อิเล็กตรอนเหล่านี้มีพลังงานเพิ่มสูงขึ้นจนสามารถหลุดจาก
วงโคจรรอบโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ในระบบแสงทั้งสองนี้ไปยังคลอโรฟิลล์โมเลกุลอื่น
ที่อยู่ใกล้กันบนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ได้
การส่งต่ออิเล็กตรอนเป็นทอดๆ จากคลอโรฟิลล์ที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง II
ไปยังพลาสโตควิโนน ระบบไซโตโครม พลาสโตไซยานิน และต่อไปยังระบบแสง I นั้น
เปรียบได้กับการไหลของอิเล็กตรอนในส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ระบบการขนส่งอิเล็กตรอน
ในปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงสามารถให้พลังงานอิสระที่สามารถนำมาใช้ในการขนส่งโปรตอน
จากสโตรมาไปยังโพรงในไทลาคอยด์ โดยใช้โมเลกุลพลาสโตควิโนนซึ่งทำหน้าที่เป็น
กระสวยรับส่งโปรตอน และอาศัยการสูบโปรตอนโดยระบบไซโตโครม จนทำให้มีความเข้มข้น
ของโปรตอนในโพรงไทลาคอยด์สูงกว่าในสโตรมา โปรตอนที่เข้มข้นมากกว่าในโพรง
ไทลาคอยด์จะพยายามไหลไปเกิดสมดุลกับโปรตอนในสโตรมา การไหลกลับนี้จะทำให้
เกิดพลังงานอิสระซึ่งจะนำมาใช้ในการสร้าง ATP จาก ADP และ Pi โดยเครื่องจักรระดับ
โมเลกุลที่ชื่อ ATP synthase ที่อยู่บนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์
พลังงานที่มากับแสงอาทิตย์ นอกจากใช้ในการทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัว
เป็นออกซิเจน และโปรตอนแล้ว ยังทำให้อิเล็กตรอนของระบบแสง I และ II มีศักยภาพ
ในการรีดิวซ์สูงขึ้นอีกด้วย อิเล็กตรอนเหล่านี้มีพลังงานเพิ่มสูงขึ้นจนสามารถหลุดจาก
วงโคจรรอบโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ในระบบแสงทั้งสองนี้ไปยังคลอโรฟิลล์โมเลกุลอื่น
ที่อยู่ใกล้กันบนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ได้
การส่งต่ออิเล็กตรอนเป็นทอดๆ จากคลอโรฟิลล์ที่ศูนย์เกิดปฏิกิริยาของระบบแสง II
ไปยังพลาสโตควิโนน ระบบไซโตโครม พลาสโตไซยานิน และต่อไปยังระบบแสง I นั้น
เปรียบได้กับการไหลของอิเล็กตรอนในส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า ระบบการขนส่งอิเล็กตรอน
ในปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงสามารถให้พลังงานอิสระที่สามารถนำมาใช้ในการขนส่งโปรตอน
จากสโตรมาไปยังโพรงในไทลาคอยด์ โดยใช้โมเลกุลพลาสโตควิโนนซึ่งทำหน้าที่เป็น
กระสวยรับส่งโปรตอน และอาศัยการสูบโปรตอนโดยระบบไซโตโครม จนทำให้มีความเข้มข้น
ของโปรตอนในโพรงไทลาคอยด์สูงกว่าในสโตรมา โปรตอนที่เข้มข้นมากกว่าในโพรง
ไทลาคอยด์จะพยายามไหลไปเกิดสมดุลกับโปรตอนในสโตรมา การไหลกลับนี้จะทำให้
เกิดพลังงานอิสระซึ่งจะนำมาใช้ในการสร้าง ATP จาก ADP และ Pi โดยเครื่องจักรระดับ
โมเลกุลที่ชื่อ ATP synthase ที่อยู่บนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์

ในระบบแสง I พลังงานของแสงถูกใช้ในการดึงให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากคลอโรฟิลล์
และไหลผ่านโมเลกุลต่างๆ จนกระทั่งถึงเฟอรีดอกซิน NADP reductase ซึ่งสามารถใช้
อิเล็กตรอนที่มีศักยภาพในการรีดิวซ์สูงมารีดิวซ์ NADP+ ให้เป็น NADPH เพื่อให้เกิดโมเลกุล
ที่สามารถรีดิวซ์โมเลกุลอื่นๆ ได้ดี เพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
บางครั้งอิเล็กตรอนบางส่วนจากระบบแสง I สามารถย้อนกลับจากเฟอรีดอกซินมายัง
ระบบไซโตโครมของระบบแสง II ไปยังศูนย์เกิดปฏิกิริยาของมันได้ เกิดการถ่ายทอด
อิเล็กตรอนเป็นวัฏจักร ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ศักยภาพในการรีดิวซ์ของอิเล็กตรอนของระบบแสง I
แทนที่จะนำไปสร้าง NADPH จะสามารถใช้ในการสูบโปรตอนจากสโตรมามายังลูเมน เพื่อให้
เกิดความแตกต่างของความเข้มข้นโปรตอนระหว่างสองข้างของเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ เมื่อ
โปรตอนที่เข้มข้นมากกว่าในลูเมนไหลไปเกิดสมดุลกับโปรตอนในสโตรมา จะทำให้เกิดพลังงานอิสระซึ่งจะนำมาใช้ในการสร้าง ATP ได้
และไหลผ่านโมเลกุลต่างๆ จนกระทั่งถึงเฟอรีดอกซิน NADP reductase ซึ่งสามารถใช้
อิเล็กตรอนที่มีศักยภาพในการรีดิวซ์สูงมารีดิวซ์ NADP+ ให้เป็น NADPH เพื่อให้เกิดโมเลกุล
ที่สามารถรีดิวซ์โมเลกุลอื่นๆ ได้ดี เพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
บางครั้งอิเล็กตรอนบางส่วนจากระบบแสง I สามารถย้อนกลับจากเฟอรีดอกซินมายัง
ระบบไซโตโครมของระบบแสง II ไปยังศูนย์เกิดปฏิกิริยาของมันได้ เกิดการถ่ายทอด
อิเล็กตรอนเป็นวัฏจักร ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ศักยภาพในการรีดิวซ์ของอิเล็กตรอนของระบบแสง I
แทนที่จะนำไปสร้าง NADPH จะสามารถใช้ในการสูบโปรตอนจากสโตรมามายังลูเมน เพื่อให้
เกิดความแตกต่างของความเข้มข้นโปรตอนระหว่างสองข้างของเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ เมื่อ
โปรตอนที่เข้มข้นมากกว่าในลูเมนไหลไปเกิดสมดุลกับโปรตอนในสโตรมา จะทำให้เกิดพลังงานอิสระซึ่งจะนำมาใช้ในการสร้าง ATP ได้

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง: ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง หรือ วัฏจักรเคลวินเป็นกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อ
สร้างสารอินทรีย์ ซึ่งต้องใช้ ATP และ NADPH ที่ได้จากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงมาสังเคราะห์
น้ำตาล กระบวนการนี้เกิดขึ้นบริเวณสโตรมาซึ่งอยู่ภายนอกไทลาคอยด์แต่อยู่ภายใน
คลอโรพลาสต์
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง หรือ วัฏจักรเคลวินเป็นกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อ
สร้างสารอินทรีย์ ซึ่งต้องใช้ ATP และ NADPH ที่ได้จากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงมาสังเคราะห์
น้ำตาล กระบวนการนี้เกิดขึ้นบริเวณสโตรมาซึ่งอยู่ภายนอกไทลาคอยด์แต่อยู่ภายใน
คลอโรพลาสต์
ปฏิกิริยาในวัฎจักรเคลวินแบ่งได้เป็นสามขั้นตอนใหญ่ คือ การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์
โดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์กับ ไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต เกิดเป็น 3-ฟอสโฟ
กลีเซอรอลดีไฮด์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของเอนไซม์ รูบิสโค (rubisco) การรีดิวซ์เปลี่ยนโครงสร้าง
โมเลกุลโดยการช่วยเหลือของ ATP และ NADPH เกิดเป็นโมเลกุลของน้ำตาลและสารอินทรีย์
อื่นๆ และสุดท้ายการสร้างตัวช่วยตรึงคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนมาใช้ใหม่โดยการช่วยเหลือ
ของ ATP
โดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์กับ ไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต เกิดเป็น 3-ฟอสโฟ
กลีเซอรอลดีไฮด์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของเอนไซม์ รูบิสโค (rubisco) การรีดิวซ์เปลี่ยนโครงสร้าง
โมเลกุลโดยการช่วยเหลือของ ATP และ NADPH เกิดเป็นโมเลกุลของน้ำตาลและสารอินทรีย์
อื่นๆ และสุดท้ายการสร้างตัวช่วยตรึงคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนมาใช้ใหม่โดยการช่วยเหลือ
ของ ATP

ตราบเท่าที่คลอโรพลาสต์มี ATP และ NADPH ในสโตรมามากพอ การตรึงคาร์บอน
ไดออกไซด์สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แสงเลย
ไดออกไซด์สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แสงเลย
การปรับตัวของพืชต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้การสังเคราะห์ด้วยแสงแบบอื่นๆ
พืชส่วนใหญ่รวมทั้ง ข้าวและถั่วเหลือง มีการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อให้ได้สาร
ตั้งต้นสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์น้ำตาล โดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์
กับไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต เกิดเป็น 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน
3 อะตอม เราจึงเรียกพืชพวกนี้ว่า พืช C3 ในวันที่แสงแดดจัด อากาศร้อนและแห้งแล้ง
พืชเหล่านี้จะลดการสูญเสียน้ำด้วยการปิดปากใบส่วนใหญ่เอาไว้ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์
จากอากาศผ่านเข้ามาทางปากใบได้น้อยมาก รวมทั้งออกซิเจนที่เกิดจากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง
ไม่สามารถปล่อยออกสู่บรรยากาศได้ ก็จะสะสมอยู่ในคลอโรพลาสต์มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการตรึง
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้น้อย พืช C3 จะทำการตรึงออกซิเจนที่สะสมคั่งค้างอยู่นั้นเอาไว้
แทน ด้วยการรวมตัวกับไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต เกิดเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอม
สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นนี้จะถูกขนส่งออกจากคลอโรพลาสต์ และถูกนำไปสลายโดยไมโทคอน-
เดรียและเพอร์ออกซิโซม (peroxisome) ซึ่งจะทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และจะถูก
นำไปใช้ในการสร้างน้ำตาลต่อไปแต่อย่างไรก็ตามการสร้างอาหารจะเกิดขึ้นน้อยลงกว่าปกติ
เนื่องจากสารอินทรีย์ในวัฏจักรเคลวินบางส่วนได้ถูกนำไปใช้ในการตรึงออกซิเจน
พืชบางชนิด เช่น อ้อย และข้าวโพดปรับตัวให้เข้ากับสภาวะร้อน แห้งแล้ง โดยใช้
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่แตกต่างไปจากพืช C3 โดยภายหลังการตรึงคาร์บอน-
ไดออกไซด์จากอากาศแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของสารอินทรีย์ไปเป็นสาร
ประกอบที่มีคาร์บอน 4 อะตอม ชื่อ มาเลต (malate) เราเรียกพืชพวกนี้ว่า พืช C4
พืชส่วนใหญ่รวมทั้ง ข้าวและถั่วเหลือง มีการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อให้ได้สาร
ตั้งต้นสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์น้ำตาล โดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์
กับไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต เกิดเป็น 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน
3 อะตอม เราจึงเรียกพืชพวกนี้ว่า พืช C3 ในวันที่แสงแดดจัด อากาศร้อนและแห้งแล้ง
พืชเหล่านี้จะลดการสูญเสียน้ำด้วยการปิดปากใบส่วนใหญ่เอาไว้ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์
จากอากาศผ่านเข้ามาทางปากใบได้น้อยมาก รวมทั้งออกซิเจนที่เกิดจากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง
ไม่สามารถปล่อยออกสู่บรรยากาศได้ ก็จะสะสมอยู่ในคลอโรพลาสต์มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการตรึง
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้น้อย พืช C3 จะทำการตรึงออกซิเจนที่สะสมคั่งค้างอยู่นั้นเอาไว้
แทน ด้วยการรวมตัวกับไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต เกิดเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอม
สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นนี้จะถูกขนส่งออกจากคลอโรพลาสต์ และถูกนำไปสลายโดยไมโทคอน-
เดรียและเพอร์ออกซิโซม (peroxisome) ซึ่งจะทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และจะถูก
นำไปใช้ในการสร้างน้ำตาลต่อไปแต่อย่างไรก็ตามการสร้างอาหารจะเกิดขึ้นน้อยลงกว่าปกติ
เนื่องจากสารอินทรีย์ในวัฏจักรเคลวินบางส่วนได้ถูกนำไปใช้ในการตรึงออกซิเจน
พืชบางชนิด เช่น อ้อย และข้าวโพดปรับตัวให้เข้ากับสภาวะร้อน แห้งแล้ง โดยใช้
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่แตกต่างไปจากพืช C3 โดยภายหลังการตรึงคาร์บอน-
ไดออกไซด์จากอากาศแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของสารอินทรีย์ไปเป็นสาร
ประกอบที่มีคาร์บอน 4 อะตอม ชื่อ มาเลต (malate) เราเรียกพืชพวกนี้ว่า พืช C4

เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C4 มี 2 ชนิด คือ เซลล์บันเดิลชีท
(bundle-sheath cells) และเซลล์เมโซฟิลล์ เซลล์บันเดิลชีทจะเรียงตัวกันหนาแน่นรอบๆ
เส้นใบ ถัดออกมาจะเป็นเซลล์เมโซฟิลล์ วัฏจักรเคลวินของพืช C4 เกิดขึ้นในเซลล์บันเดิลชีท
แต่คาร์บอนไดออกไซด์ที่จะป้อนเข้าสู่วัฏจักรเคลวินนั้นได้รับมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง
โมเลกุลของสารอินทรีย์ในเซลล์เมโซฟิลล์ โดยเริ่มจากคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศซึ่งผ่าน
เข้ามาทางปากใบได้เพียงเล็กน้อยนั้นจะรวมตัวกับ ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต
(phosphoenolpyruvate) ในเซลล์เมโซฟิลล์ โดยอาศัยเอนไซม์ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต
คาร์บอกซีไคเนส (phosphoenolpyruvate carboxykinase) เกิดเป็นสารประกอบที่มี
คาร์บอน 4 อะตอม ที่ชื่อ ออกซาโลแอซีเตต (oxaloacetate) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็น
มาเลต (malate) และถูกขนส่งออกจากเซลล์เมโซฟิลล์ไปยังเซลล์บันเดิลชีท ที่เซลล์
บันเดิลชีท คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกปล่อยเป็นอิสระจากโมเลกุลของมาเลต และจะถูกตรึง
โดยการรวมตัวกับไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต แล้วเข้าสู่วัฏจักรเคลวินต่อไป
(bundle-sheath cells) และเซลล์เมโซฟิลล์ เซลล์บันเดิลชีทจะเรียงตัวกันหนาแน่นรอบๆ
เส้นใบ ถัดออกมาจะเป็นเซลล์เมโซฟิลล์ วัฏจักรเคลวินของพืช C4 เกิดขึ้นในเซลล์บันเดิลชีท
แต่คาร์บอนไดออกไซด์ที่จะป้อนเข้าสู่วัฏจักรเคลวินนั้นได้รับมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง
โมเลกุลของสารอินทรีย์ในเซลล์เมโซฟิลล์ โดยเริ่มจากคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศซึ่งผ่าน
เข้ามาทางปากใบได้เพียงเล็กน้อยนั้นจะรวมตัวกับ ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต
(phosphoenolpyruvate) ในเซลล์เมโซฟิลล์ โดยอาศัยเอนไซม์ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต
คาร์บอกซีไคเนส (phosphoenolpyruvate carboxykinase) เกิดเป็นสารประกอบที่มี
คาร์บอน 4 อะตอม ที่ชื่อ ออกซาโลแอซีเตต (oxaloacetate) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็น
มาเลต (malate) และถูกขนส่งออกจากเซลล์เมโซฟิลล์ไปยังเซลล์บันเดิลชีท ที่เซลล์
บันเดิลชีท คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกปล่อยเป็นอิสระจากโมเลกุลของมาเลต และจะถูกตรึง
โดยการรวมตัวกับไรบูโลส 1,5 บิสฟอสเฟต แล้วเข้าสู่วัฏจักรเคลวินต่อไป


พืชที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแสงแดดจัดและแห้งแล้ง โดยใช้กระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงที่ต่างไปจากพืช C3 และ C4 ได้แก่ กระบองเพชร และสับปะรด
พืชพวกนี้จะเปิดปากใบเฉพาะในเวลากลางคืนและปิดปากใบในเวลากลางวันเพื่อป้องกัน
การสูญเสียน้ำ ในเวลากลางคืนเมื่อปากใบเปิด การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดขึ้น
โดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์เข้ากับสารอินทรีย์หลากหลายชนิดซึ่งจะเกิด
การเปลี่ยนแปลงโมเลกุลไปเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นกรดหลายตัวด้วยกัน สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้น
นั้นจะถูกเก็บไว้ในแวคิวโอล (vacuole) เมื่อปากใบปิดในตอนกลางวัน ปฏิกิริยาใช้แสง
จะเกิดขึ้นเพื่อสร้าง ATP และ NADPH สำหรับป้อนเข้าสู่วัฏจักรเคลวิน ส่วนคาร์บอน-
ไดออกไซด์ จะถูกปล่อยออกมาจากโมเลกุลสารอินทรีย์ที่พืชสร้างเอาไว้ในเวลากลางคืน
ทำให้วัฏจักรเคลวินสามารถทำงานได้ กระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์อย่างที่พบ
ในพืชพวกกระบองเพชรและสับปะรดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในพืชตระกูลครัสซูเลเชียน
(crassulacean) และเรียกการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแสงแดดจัดและแห้งแล้งโดยใช้
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดังกล่าวนี้ว่า เมแทบอลิซึมของกรดอินทรีย์ในพืชครัสซูเลเชียน
(crassulacean acid metabolism) เรียกย่อๆ ว่า CAM ต่อมาเมื่อพบว่ายังมีพืชอื่นๆ
ที่มีการปรับตัวแบบเดียวกับพืชครัสซูเลเชียนด้วย จึงเรียกพืชเหล่านั้นรวมๆ ว่า พืช CAM
สังเคราะห์ด้วยแสงที่ต่างไปจากพืช C3 และ C4 ได้แก่ กระบองเพชร และสับปะรด
พืชพวกนี้จะเปิดปากใบเฉพาะในเวลากลางคืนและปิดปากใบในเวลากลางวันเพื่อป้องกัน
การสูญเสียน้ำ ในเวลากลางคืนเมื่อปากใบเปิด การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดขึ้น
โดยการรวมตัวของคาร์บอนไดออกไซด์เข้ากับสารอินทรีย์หลากหลายชนิดซึ่งจะเกิด
การเปลี่ยนแปลงโมเลกุลไปเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นกรดหลายตัวด้วยกัน สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้น
นั้นจะถูกเก็บไว้ในแวคิวโอล (vacuole) เมื่อปากใบปิดในตอนกลางวัน ปฏิกิริยาใช้แสง
จะเกิดขึ้นเพื่อสร้าง ATP และ NADPH สำหรับป้อนเข้าสู่วัฏจักรเคลวิน ส่วนคาร์บอน-
ไดออกไซด์ จะถูกปล่อยออกมาจากโมเลกุลสารอินทรีย์ที่พืชสร้างเอาไว้ในเวลากลางคืน
ทำให้วัฏจักรเคลวินสามารถทำงานได้ กระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์อย่างที่พบ
ในพืชพวกกระบองเพชรและสับปะรดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในพืชตระกูลครัสซูเลเชียน
(crassulacean) และเรียกการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแสงแดดจัดและแห้งแล้งโดยใช้
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดังกล่าวนี้ว่า เมแทบอลิซึมของกรดอินทรีย์ในพืชครัสซูเลเชียน
(crassulacean acid metabolism) เรียกย่อๆ ว่า CAM ต่อมาเมื่อพบว่ายังมีพืชอื่นๆ
ที่มีการปรับตัวแบบเดียวกับพืชครัสซูเลเชียนด้วย จึงเรียกพืชเหล่านั้นรวมๆ ว่า พืช CAM
แบบทดสอบความรู้ ตอนที่ 1
1. สสารที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ปฏิกิริยาที่ใช้แสงและปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. การสร้าง ATP และ NADPH โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้น
ที่บริเวณใดของไทลาคอยด์
4. เหตุใดความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่ความยาวคลื่นต่างกัน
จึงไม่เท่ากัน
5. จงอธิบายว่าเหตุใดสารพิษที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในวัฏจักรเคลวิน
จึงสามารถยับยั้งปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงได้ด้วย
6. การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4 และพืช CAM มีความคล้ายคลึงกันและ
แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
7. ในการปลูกผักโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เกษตรกรอาจใช้ตาข่ายคลุมแปลงผักนั้น
นักเรียนคิดว่าสีของตาข่ายมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผักหรือไม่
8. เหตุใดพืชที่มีใบเป็นสีอื่นๆ นอกจากสีเขียวจึงสร้างอาหารเองได้
2. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ปฏิกิริยาที่ใช้แสงและปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง
มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. การสร้าง ATP และ NADPH โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้น
ที่บริเวณใดของไทลาคอยด์
4. เหตุใดความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่ความยาวคลื่นต่างกัน
จึงไม่เท่ากัน
5. จงอธิบายว่าเหตุใดสารพิษที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในวัฏจักรเคลวิน
จึงสามารถยับยั้งปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงได้ด้วย
6. การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4 และพืช CAM มีความคล้ายคลึงกันและ
แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
7. ในการปลูกผักโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เกษตรกรอาจใช้ตาข่ายคลุมแปลงผักนั้น
นักเรียนคิดว่าสีของตาข่ายมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชผักหรือไม่
8. เหตุใดพืชที่มีใบเป็นสีอื่นๆ นอกจากสีเขียวจึงสร้างอาหารเองได้
เรียบเรียง ศรายุทธ วุฒิเสน

สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)